วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

หลักการเขียนโปรแกรม

           โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง  ชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้       การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานหรือประมวลผลเพื่อแก้ปัญหาใด ๆ      จะต้องมีการเขียนชุดคำสั่งหรือเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ      เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอนอย่างมีระบบและได้ผลลัพธ์ตามต้องการ       การเขียนโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและทำงานได้รวดเร็ว  การแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนนั้นจะเกิดจากการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโปแกรมซึ่งเรียกว่าอัลกอริทึม (Algorithm )  

ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม


โปรมแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานได้นั้น ไม่สามารถเริ่มต้นจากจากการเขียนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ได้ทันที จะต้องมีการวิเคราะห์  วางแผน และปฏิบัติตามกระบวนการทำงาน  ซึ่งแบ่งออกเป็น 5  ขั้นตอน คือ
            1. วิเคราะห์ปัญหา  โดยจะเริ่มจากการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ที่ต้องการ (Output)  แล้วย้อนกลับไปยังข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ (Input)  ตลอดจนข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะนำไปใช้ในการประมวลผล
            2. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา  เมื่อทราบผลลัพธ์ที่ต้องการและข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบแล้ว   ต้องกำหนดการวางแผนในการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีเขียนลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาที่เรียกว่า อัลกอริทึม (Algorithm )   และใช้เครื่องมือสำหรับช่วยในการเขียนอัลกอริทึมเช่น  การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)  การเขียนผังงาน (Flowchart)   เป็นต้น
            3. เขียนโปรแกรม  เลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม  โดยพิจารณาจากความสามารถของผู้เขียนโปรแกรมและประสิทธิภาพของภาษาคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ให้เหมาะสมกับระบบงานที่ต้องการแล้วเขียนชุดคำสั่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ตามอัลกอริทึมที่ได้ออกแบบไว้
            4. ทดสอบและแก้ไขโปแกรม  ภายหลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จสิ้น จะต้องทำการทดสอบโปรแกรมเพื่อหาข้อผิดพลาด (Error)    ซึ่งข้อผิดพลาดที่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรมนั้น   แบ่งออกเป็น 3  ประเภท ได้แก่
    Å    ข้อผิดพลาดทางไวยกรณ์ภาษา (Syntax Error)  เกิดจากการเขียน        ชุดคำสั่งไม่ถูกต้องตามไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ซึ่งแก้ไขได้ไม่ยาก
Å        ข้อผิดพลาดระหว่างการประมวลผล  (Runtime Error ) เกิดขณะที่
โปรแกรมกำลังประมวลผลหรือกำลังทำงานอยู่   โดยอาจจะเป็นความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้วไม่สามารถประมวลผลได้
                      Å   ข้อผิดพลาดทางวิธีการคิด(Logical Error) เป็นข้อแก้ไขที่ยากที่สุดเพราะถึงแม้ว่าโปรแกรมจะประมวลผลได้ผลลัพธ์ออกมา  จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบหลายครั้งๆ เพื่อพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการประมวลผลที่ออกแบบไว้  หรือเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ 
            5. จัดทำเอกสารประกอบ  เมื่อโปแกรมผ่านการทดสอบแล้วก็จะต้องจัดทำเอกสารประกอบซึ่งมีรายละเอียดของวิธีการใช้งานโปรแกรม    วิธีการติดตั้งโปรแกรม     ตลอดจนขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม   รวมถึงอัลกอริทึมและโปรแกรมต้นฉบับ (source code) เพื่อประโยชน์ในกรณีที่ต้องการแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมภายหลัง

ที่มา   กระทรวงศึกษาธิการ,หลักการเขียนโปรแกรม  ดร. ศรีไพร  ศักดิ์รุ่งไพรศาลกุล และคณะ,เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.6

0 ความคิดเห็น: