วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสร้างโปรเจคใน Visual Studio 2005


โปรเจคจะมีทั้งวินโดวส์ และเว็บ โดยโปรเจคเว็บจะถูกตั้งชื่อเป็นเว็บไซต์ (Web Site) ที่เราสนใจในที่นี้ จะถูกแยกออกมาดังภาพที่ 1-8
1-8.gifภาพที่ 1-8 การสร้างเว็บไซต์ใหม่



สำคัญมาก โปรเจคประเภท Web Application ที่เคยมีใน Visual Studio .NET 2003 จะหายไปใน Visual Studio 2005 แต่จะมีโปรเจคเว็บไซต์เข้ามาแทน แต่หลังจากที่ Visual Studio 2005 ออกมาได้ไม่นาน ไมโครซอฟต์ถูกบ่นมาจากนักพัฒนาชินกับโปรเจค Web Application ดังนั้นทางไมโครซอฟต์จึงได้ทำตัวติดตั้งโปรเจค Web Application เพิ่มเติมให้นักพัฒนาดาวน์โหลดเพิ่มฟรีในตอนหลัง ซึ่งคุณสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดหรือโปรเจคนี้ได้ที่http://msdn2.microsoft.com/en-us/asp.net/aa336618.aspx แต่อย่างไรก็ตามโปรเจค Web Application นี้ได้ถูกรวมอยู่ใน Visual Studio 2005 Service Pack 1 เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรเจค Web Application ซ้ำอีก หลังจากที่ติดตั้ง Service Pack 1 ไปแล้ว


เมื่อเลือกสร้างเว็บไซต์ใหม่แล้ว จะสามารถเลือกชนิดของโปรเจคเว็บดังภาพที่ 1-9
1-9.gif
ภาพที่ 1-9หน้าจอสำหรับสร้างเว็บไซต์ใหม่
ส่วนประกอบที่จำเป็นต้องเลือกในการสร้างโปรเจคมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 เทมเพลต
        จะเป็นส่วนที่ระบุว่ารูปร่างหน้าตาของโปรเจคจะประกอบด้วยไฟล์ และมีการอ้างอิงกับแอสเซมบลีตัวใดบ้าง  เทมเพลตที่มี จะคล้ายกับ Visual Studio .NET 2003 คือจะมีเทมเพลตที่เป็นทั้งเว็บไซต์ปกติ (ASP .NET Website) และเทมเพลตที่เป็นเว็บเซอร์วิส (ASP .NET Web Service)
ที่เพิ่มพิเศษเข้ามาคือ เทมเพลตเว็บเซอร์วิสที่เป็น Crystal Report และที่หายไปคือ เทมเพลตที่ใช้สร้าง Web Server Control ซึ่งต้องไปใช้วิธีเพิ่มเข้ามาในโปรเจคทีหลังเอง

เพิ่มเติม เราสามารถดาวน์โหลดเทมเพลตเพิ่มเติมเข้ามาในส่วน My Template ได้ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่http://msdn.microsoft.com/asp.net/reference/design/templates/default.aspx ที่ลิงค์นี้จะมีเทมเพลตทั้งของภาษา VB .NET และ C# หลายชนิดให้เลือกโดยแบ่งตามจุดประสงค์ของเว็บไซต์ เช่น เว็บอีคอมเมิร์ส เว็บส่วนตัว หรือเว็บบริษัท

ส่วนที่ 2 Location
        จะเป็นตัวที่ระบุว่าเว็บไซต์ของเราจะถูกเก็บไว้ที่ใด ซึ่งเราสามารถระบบได้ทั้งเก็บในเครื่องเราเอง หรือเก็บไว้ในเครื่องอื่นที่อยู่ภายในเน็ตเวิร์ค หรืออาจจะเก็บไว้ใน FTP Server ก็ได้ ในการเก็บเว็บไซต์แต่ละแบบต้องการค่าพารามิเตอร์ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับ Location ที่เราเลือกดังนี้
-          HTTP เก็บเว็บไซต์ไว้ใต้ Virtual Directory ของ IIS เราสามารถใส่ชื่อของเว็บเซิร์ฟเวอร์ และชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการลงไปได้ หรืออาจกดปุ่ม Browse

1-10.gifภาพที่ 1-10การเลือก Location แบบ HTTP
-          File System เก็บเว็บไซต์ไว้ใต้โฟลเดอร์ของเครื่องเราเอง หรือเครื่องอื่นในเน็ตเวิร์ค เราสามารถตั้ง Path ที่ต้องการเก็บให้เป็นเครื่องของเราเอง หรือเป็น Path ที่อยู่ยนเน็ตเวิร์คก็ได้ หรืออาจกดปุ่ม Browse จะปรากฏไดอะล็อกให้เราเลือกดังภาพ 1-11

1-11.gifภาพที่ 1-11การเลือก Location แบบ File System
-          FTP เก็บเว็บไซต์ไว้ใน FTP เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งการที่จะเข้าถึงได้นั้นเราต้องใส่ข้อมูลชื่อเซิร์ฟเวอร์ และไดเรคทอรี เป็นอย่างน้อย สำหรับ FTP เซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการ Authentication เราต้องใส่ข้อมูลนี้เพิ่มเข้าไปด้วย หรืออาจกดปุ่ม Browse จะปรากฏไดอะล็อกให้เราเลือกดังภาพ 1-12

1-12.gifภาพที่ 1-12การเลือก Location แบบ FTP

ส่วนที่ 3 ภาษาที่ใช้
เราสามารถเลือกภาษาได้ตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็น C#, VB .NET หรือก J# นอกจากนี้ ในโปรเจคเดียวกัน เราสามารถเขียนโค้ดหลายภาษารวมกันได้ เช่น ในหนึ่งโปรเจค เราสามารถสร้างเว็บฟอร์มที่หนึ่งเขียนด้วยภาษา C# ในขณะที่เว็บฟอร์มที่สองเขียนด้วยภาษา VB .NET ได้
แต่ภายในเว็บฟอร์มเดียวกัน เราจะไม่สามารถเขียนโค้ดแบบ Inline (เขียนโค้ดลงบนไฟล์ .aspx) เป็นคนละภาษากับโค้ดที่เป็นเขียนบน Code Behind (เขียนโค้ดลงบนไฟล์ .cs หรือ .vb) ได้

สภาพแวดล้อมในการทำงานของ Visual Studio 2005

สภาพแวดล้อมการทำงานใน Visual Studio 2005 ไม่ได้แตกต่างไปจาก Visual Studio .NET 2005 เท่าใดนัก แต่จะมีการเพิ่มเติมวินโดว์ใหม่เข้ามา ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป สภาพแวดล้อมของ Visual Studio 2005 แสดงดังภาพ 1-15
1-15.gif
ภาพที่ 1-15 สภาพแวดล้อมของ Visual Studio 2005
ส่วนสภาพแวดล้อมจะแบ่งออกเป็นส่วนหลักๆ  5 ส่วนดังนี้
-          ส่วนที่ 1ทูลบ็อกซ์ สำหรับแสดงคอนโทรลต่างๆ ที่ลากมาวางในตัว Document Window ได้ และ Server Explorer สำหรับแสดงบริการต่างๆ ที่มีบนเซิร์ฟเวอร์
-          ส่วนที่ 2Document Window เป็นส่วนหลักในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นออกแบบเว็บฟอร์ม ออกแบบคลาส เขียนโค้ด HTML หรือ Code Behind
-          ส่วนที่ 3Solution Explorer แสดงไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ที่มีในโปรเจค
-          ส่วนที่ 4Task List, Error List และ Output สำหรับแสดงงานที่เราบันทึกไว้ Error List สำหรับแสดงข้อผิดพลาดจากการคอมไพล์ และ Output ที่แสดงผลลัพธ์จากการคอมไพล์
-          ส่วนที่ 5วินโดว์สพร็อพเพอตี้ แสดงคุณสมบัติของไฟล์ หรือคอนโทรลที่เราสนใจอยู่ และเราสามารถปรับค่าได้จากหน้าต่างนี้

ที่มา http://www.aspnetthai.com

0 ความคิดเห็น: